บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

หน่วยที่ ๑๑ การศึกษาวิเคราะห์กรรณกรรมท้องถิ่น




แนวคิด
  วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นวรรณกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นนั้นๆ โดยใช้ภาษาของถิ่นนั้นในการถ่ายทอดวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณี ไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้เนื้อหาส่วนใหญ่ของวรรณกรรมถิ่นมักเกี่ยวเนื่องด้วยสาสนา หรืออาจเป็นนิทาน นิยายที่เล่าสืบต่อกันมาการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเป็นการเรียนรู้ภาพวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
สาระสาระการเรียนรู้ ........
๑.                 ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น
๒.               ลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น
๓.                ประโยชน์ในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น
๔.                บทบาทของวรรณกรรมท้องถิ่น
๕.                วรรณกรรมท้องถิ่น : ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง .......
๑.                 อธิบายความหมาย ลักษณะและประเภทของวรรณกรรมท้องถิ่นได้
๒.               อธิบายประโยชน์ในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นได้
๓.                อธิบายภูมิปัญญาที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นได้
๔.                อธิบายบทบาทของวรรณกรรมท้องถิ่นได้
๕.                อธิบายลักษณะวรรณกรรมท้องถิ่น


ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น
     วรรณกรรมท้องถิ่น(Regionel Literature) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของคติชนวิทยา (Folklore) ประกอบด้วยเรื่องราวที่ผู้คนเล่นสู่กันฟัง ทั้งที่เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ และวรรณกรรมลายลักษณ์วรรณกรรมท้องถิ่นจึงเป็นการบันทึกวิถีชีวิตชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ
ลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น
   ลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น มีด้งนี้
๑.                 ชาวบ้านเป็นผู้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในท้องถิ่นของตน ทั้งยังเป็นผู้ใช้ และผู้รักษาวรรณกรรมท้องถิ่น
๒.               ชาวบ้านหรือพะภิกษุเป็นผู้สร้างวรรณกรรมท้องถิ่นขึ้นมาเพราะมีใจรัก ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อถวายพระมหากษัตริย์เหมือวรรณคดีทั้งไป
๓.                ใช้ภาษาที่เรียบง่าย ภาษาที่ใช้เป็นภาษาถิ่นของแต่ละท้องถิ่น สำนวนโวหารก็ใช้สำนวนโวหารท้องถิ่นซึ่งมุ่งสื่อความหมายเป็นสำคัญ
๔.                เนื้อหาส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความบันเทิงใจ แต่เน้นเรื่องคติธรรมทางพุทธศาสนา เพราะส่วนใหญ่เป็นนิทานคติธรรม
๕.                ไม่ได้มุ่งยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์มากนัก แม้ตัวละครเอกจะเป็นพระมหากษัตริย์
๖.                 เสนอภาพสังคม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้น
๗.                เสนอค่านิยมและอุดมคติทั่วไปเหนือวรรณคดี แม้จะยกย่องพระมหากษัตริย์แต่ก็ไม่เน้นมากนัก



ประโยชน์ในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น
   ประโยชน์ในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น มีด้งนี้
๑.                 ทำให้ผู้ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเข้าใจความเชื่อ คตินิยม จารีตประเพณี ฯลฯ
๒.               ทำให้ทราบคำที่ใช้ท้องถิ่นต่างๆ
๓.                การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นในสถาบันการศึกษา
๔.                ทำให้ผู้ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นทราบถึงความสามารถของกวีพื้นบ้าน
๕.                ทำให้ผู้ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเกิดความภูมิใจท้องถิ่นของตน
๖.                 การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเป็นอนุรักษ์วรรณกรรมพื้นบ้านของไทยไว้ไม่ให้สูญหายไปก่อนเวลาอันควร
บทบาทของวรรณกรรมท้องถิ่น
   บทบาทของวรรณกรรมท้องถิ่นมีหลายประการ เช่น
๑.                 ให้ความบันเทิง วรรณกรรมท้องถิ่นบทบาทสำคัญในการให้ความบันเทิงแก่บุคคลในสังคม ดังจะเห็นได้จากการเล่นนิทานพื้นบ้านของภาคต่างๆ
๒.               สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น การถ่ายทอดวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลงกล่อมเด็ก เพลงอีแซว หรือนิทาน
๓.                เป็นสื่อกลางระหว่างวัดกับประชาชน ในท้องถิ่นของไทยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์ เผยแพร่และอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่น
๔.                ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม เนื่องจากวรรณกรรมท้องถิ่นส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ดังนั้นแนวคิดและคิดนิยมต่าง ๆ


วรรณกรรมท้องถิ่น :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น
     พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายความหมายของภูมิปัญญาว่า พื้นความรู้ความสามารถภูมิปัญญาจึงหมายถึง ความรู้หรือระบบความรู้ที่แสดงถึงสติปัญญาและความสามารถของมนุษย์ โดยทั่งไปจะแบ่งประเภทของวรรณกรรมท้องถิ่นเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสาน วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ และวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ล้วนจำเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑.                  วรรณกรรมท้องถิ่นที่เป็นมุขปาฐะ
๒.                วรรณกรรมท้องถิ่นภาคที่เป็นลายลักษณ์อักษร

วรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
     ภาคเหนือเป็นภาคมีวัฒนธรรมเก่าแก่ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาช้านาน มีภาษาไทยถิ่นเรียกกว่า คำเมืองมีตัวอักษรใช้เป็นของตนเอง โดยมีรูปแบบฉันทลักษณ์เฉพาะตน ที่นิยมมี ๓ ประเภท ได้แก่
๑.                 โคลง
๒.               ค่าวธรรม
๓.                ค่าวซอ





วรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสาน
    ภาคอีสานมีวัฒนธรรมที่รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมลุ่นแน่น้ำโขง คือ วัฒนธรรมไทยลาวมี๓ษาไทยถิ่นที่เรียกกว่า ภาษาอีสาน และมีอักษรใช้ ๒ ชนิด ได้แก่ อักษรไทยน้อยใช้บันทึกเรื่องราวทั่งไป
วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้
     ประชาชนที่อยู่ตั่งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนสุดเขตประเทศไทย จัดเป็นประชาชนในท้องถิ่นภาคใต้ เป็นกลุ่มที่ใช้ภาษาถิ่นใต้ที่เรียกกว่า แลงใต้ มีวัฒนธรรมบางอย่างที่แตกต่างไปจากภาคกลาง การเขียนหนังสื่อใช้อักษรไทยเขียนเอกสารไทยและวรรณกรรมพื้นบ้าน และใช้อักษรขอมเขียนพระคัมภีร์ละตำราวิชาการ ลักษณะคำประพันธ์ที่นิยมใช้มากที่สุด
วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง
    วรรณกรรมพื้นบ้านและวรรณคดีไทยเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันค่อนข้างยาก เพราะมีการถ่ายโอนซึ่งกันและกันอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมพื้นบ้านมีฉันทลักษณ์ที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อนชาวบ้านเป็นผู้ใช้ และมีสำนวนโวหารและคำศัพท์ที่เรียบง่าย
สรุปสาระสำคัญ
    วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของดติชนวิทยา มีทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์ โดยมีความสำคัญอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้น ใช้๓ษาที่เรียบง่ายและภาษาถิ่นในการทอดข้อมูล มีการนำเสนอสภาพสังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ตลาดจนค่านิยมในแต่ละท้องถิ่น วรรณกรรมท้องถิ่นของไทยแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่วรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ วรรณกรรมท้องถิ่นของแต่ละภาคต่างมีลักษณะเฉพาะที่สะท้องภาพวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นได้
แบบประเมินผลการเรียนรู้
ตอนที่ ๑ จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด
๑.ข้อใดไม่ใช่วรรณกรรมท้องถิ่น
ก. นิทานพื้นบ้าน          ข. เพลงกล่อมเด็ก
ค. ปริศนาคำทาย          . พระราชพิธีต่างๆ

๒. ข้อใดเป็นลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น
ก. สร้างขึ้นเพื่อถวายกษัตริย์
ข. แต่งขึ้นเพื่อยอพระเกียรติกษัตริย์เป็นสำคัญ
. ชาวบ้านเป็นผู้รู้รักษา ผู้ใช้วรรณกรรมท้องถิ่น
ง.ใช้๓ษากลางเป็นหลักไม่นิยมใช้ภาษาถิ่น

๓.การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นให้ประโยชน์ด้านใดน้อยที่สุด
ก. ความเชื่อ        . กฎหมาย
ค.จารีประเพณี         ง. ภาษาศาสตร์

๔. ข้อใดเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องภูตผี
. งานปอยเข้าสังข์         ข. งานบวชลูกแก้ว
ค.งานเทศน์มหาชาติ          ง. งานบุญข้าวประดับดิน

๕.ข้อใดเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นทีมุ่งให้ความบันเทิง
ก. ค่าวธรรม         . ค่าวซอ
ค. ลำมหาชาติ         ง.ฮีตสิบสองคองสิบสี่

๖.ตัวอักษรใดเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ
ก. อักษรขอม         ข. อักษรตัวธรรม
ค. อักษรไทยน้อย        . อักษรตัวเมือง

๗.วรรณกรรมข้อใดที่กล่าวถึงประเพณีท้องถิ่นภาคอีสานทั้งสิบสิงเดือน
ก. พระราชพิธีสองเดือน         . ฮีตสิบสองคองสิบสี่
ค. พระยาคำกลองสอนไพร่        ง. สวดโอ้เอ้วิหารราย

๘.ข้อใดเป็นนิทานพื้นบ้านภาคอีสาน
ก.นิทานปักษา         ข. สุวรรณหงส์
ค. ชิวหาลิ้นดำ         . กาละเกด

๙. การละเล่นพื้นบ้านเกี่ยวข้องกับวรรณกรรมอย่างไร
. เป็นบทร้องในการเล่น
ข. บอกวิธีการเล่นแต่ละประเภท
ค. สะท้อนความเชื่อในการละเล่นนั้นๆ
ง.ทำให้ผู้เล่นเกิดความสนุกสนานยิ่งขึ้น

๑๐
ไก่เถื่อนเอย         ขันเทือนดังทั้งบ้าน
โลกสาวขี้คร้าน        นอนนานให้แม่ปลุก
แม่ฉวยได้ด้ามขวาน          แยงวานเข้าดังพลุก
นอนนานให้แม่ปลุก          โลกสาวขี้คร้านเอย
บทร้องข้างต้นเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทใด
ก. นิทาน          ข. การละเล่น
. เพลงกล่อมเด็ก          ง. จารีตประเพณี


ตอนที่ ๒ จงตอบคำถามต่อไปนี้
๑.                  วรรณกรรมท้องถิ่นหมายถึงอะไร  
    ตอบ  วรรณกรรมท้องถิ่น(Regionel Literature) เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของคติชนวิทยา (Folklore) ประกอบด้วยเรื่องราวที่ผู้คนเล่นสู่กันฟัง ทั้งที่เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ และวรรณกรรมลายลักษณ์วรรณกรรมท้องถิ่นจึงเป็นการบันทึกวิถีชีวิตชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ
๒.                วรรณกรรมท้องถิ่นมีลักษณะอย่างไร
    ตอบ  
1.                                    ชาวบ้านเป็นผู้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในท้องถิ่นของตน ทั้งยังเป็นผู้ใช้ และผู้รักษาวรรณกรรมท้องถิ่น
2.                                    ชาวบ้านหรือพะภิกษุเป็นผู้สร้างวรรณกรรมท้องถิ่นขึ้นมาเพราะมีใจรัก ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อถวายพระมหากษัตริย์เหมือวรรณคดีทั้งไป
3.                                    ใช้ภาษาที่เรียบง่าย ภาษาที่ใช้เป็นภาษาถิ่นของแต่ละท้องถิ่น สำนวนโวหารก็ใช้สำนวนโวหารท้องถิ่นซึ่งมุ่งสื่อความหมายเป็นสำคัญ
4.                                    เนื้อหาส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความบันเทิงใจ แต่เน้นเรื่องคติธรรมทางพุทธศาสนา เพราะส่วนใหญ่เป็นนิทานคติธรรม
5.                                    ไม่ได้มุ่งยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์มากนัก แม้ตัวละครเอกจะเป็นพระมหากษัตริย์
6.                                    เสนอภาพสังคม วิถีชีวิตและวัฒธรรมม้องถิ่นนั้น
7.                                    เสนอค่านิยมและอุดมคติทั่วไปเหนือวรรณคดี แม้จะยกย่องพระมหากษัตริย์แต่ก็ไม่เน้น
            มากนัก       

๓.    การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเกี่ยวกับข้องกับภาษาศาสตร์อย่างไร จงอธิบาย
     ตอบ  คือ วรรณกรรมท้องถิ่นที่มีผู้บันทึกไว้เป็นตัวหนังสือ ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ ในปัจจุบันจะพบว่ามีการศึกษารวบรวมวรรณกรรมท้องถิ่นในสถาบันการศึกษาเป็นจำนวนมาก มีการให้ความสำคัญกับวรรณกรรมท้องถิ่นมากขึ้น

๔.    จงบอกประโยชน์ของการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น
ตอบ  
1.                                    ทำให้ผู้ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเข้าใจความเชื่อ คตินิยม จารีตประเพณี ฯลฯ
2.                                    ทำให้ทราบคำที่ใช้ท้องถิ่นต่างๆ
3.                                    การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นในสถาบันการศึกษา
4.                                    ทำให้ผู้ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นทราบถึงความสามารถของกวีพื้นบ้าน
5.                                    ทำให้ผู้ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเกิดความภูมิใจท้องถิ่นของตน
6.                                    การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเป็นอนุรักษ์วรรณกรรมพื้นบ้านของไทยไว้ไม่ให้สูญหายไปก่อนเวลาอันควร

๕.                วรรณกรรมท้องถิ่นช่วยสืบทอดประเพณีท้องถิ่นได้อย่างไร  จงอธิบาย
ตอบ  
1.                                    ให้ความบันเทิง วรรณกรรมท้องถิ่นบทบาทสำคัญในการให้ความบันเทิงแก่บุคคลในสังคม ดังจะเห็นได้จากการเล่นนิทานพื้นบ้านของภาคต่างๆ
2.                                    สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น การถ่ายทอดวรรณการท้องถิ่นประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลงกล่อมเด็ก เพลงอีแซว หรือนิทาน
3.                                    เป็นสื่อกลางระหว่างวัดกับประชาชน ในท้องถิ่นของไทยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์ เผยแพร่และอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่น
4.                                    ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม เนื่องจากวรรณกรรมท้องถิ่นส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ดังนั้นแนวคิดและคิดนิยมต่าง ๆ

๖.                  ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมายถึงอะไร
ตอบ หมายถึง ความรู้หรือระบบความรู้ที่แสดงถึงสติปัญญาและความสามารถของมนุษย์

๗.      วรรณกรรมมุขปาฐะหมายถึงอะไร
 ตอบ  ซึ่งไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้ถ้อยคำเป็นสิ่งสำคัญในการถ่ายทอด เช่น นิทาน เพลงพื้นบ้าน
๘.      ให้นักศึกษายกตัวอย่างบทร้องในการเล่นที่นักศึกษารู้จักมา ๒ ตัวอย่าง
ตอบ  
-                   รีรีข้าวสาร
-                   เจ้างูเอย
๙.        การแต่งนิทานแบบชาดกมีลักษณะอย่างไร
ตอบ  เพื่อให้ได้ความรู้การดำเนินชีวิตและคติสอนใจ
๑๐. ให้นักศึกษายกตัวอย่างประเพณีการละเล่นของภาคกลางมา ๓ ประเพณี
ตอบ  
-                   หัวร้านชนกัน
-                   ขี่ม้ากล้านกล้วย
-                   หมากเก็บ

ตอนที่ ๓ ให้นักศึกษาทำเครื่องหมาย  ถูก หน้าข้อที่ถูก และทำเครื่องหมาย ผิด หน้าข้อที่ผิด
  ถูก   ๑. คำเมืองคือภาษาประจำภาคเหนือ
   ถูก  ๒. วรรณกรรมท้องถิ่นมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา
   ถูก  ๓. คติชนวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่น
  ผิด ๔. ประเพณีผีตาโขนเป็นประเพณีของภาคเหนือที่แสดงความเชื่อ เรื่อง๓ตผี
   ถูก  ๕. พระยากง พระยาพาน เป็นนิทานพื้นบ้านของภาคกลาง
  ผิด   ๖. หนังควน คือการแสดงหนังใหญ่ในปัจจุบัน
  ผิด   ๗. ประเพณีปอยหลวงแสดงความเชื่อเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
  ผิด ๘. วรรณกรรมมุขปาฐะคือวรรณกรรมที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
   ถูก  ๙. ขูลูนางอั้ว เป็นนิทานพื้นบ้านภาคอีสาน
  ผิด  ๑๐. อักษรตัวธรรม เป็นอักษรที่ใช้กันแพร่หลายในภาคกลาง


ผู้จัดทำ

1 นาย ธนพล พรมเทศ คธ 201
2 นาย ธนพันธ์ พรมเทศ คธ 201
3 นาย ทวีศักดิ์ แสนสุข คธ 201
4 นาย สมเกรียติ์ เดชเสถียร คธ 201